การทำหญ้าหมัก เพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์
การทำหญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบ ในภาชนะปิดที่ป้องกัน อากาศจากภายนอกจนเกิดการหมัก
ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่า ทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการ หมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับ เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมในการทำ หญ้าแห้งได้
การทำหญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบ ในภาชนะปิดที่ป้องกัน อากาศจากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่า ทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการ หมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับ เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมในการทำ หญ้าแห้งได้
ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานีสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ มีภารกิจหน้าที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยนำเอาเทคโนโลยีต่างๆที่นักวิชาการทำการวิจัยและสรุปผลแล้วว่า สามารถทำได้ผลผลิตมากขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือสัตว์มีสุขภาพดี รวมทั้งภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นำไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เพื่อนำไปปรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาเลี้ยงสัตว์ของตนเอง ดูแลรับผิดชอบทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ
ฐานเรียนรู้พืชอาหารสัตว์ ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการปลูกพืชอาหารสัตว์ และการแปรรูปอาหารสัตว์จากพืชในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำหญ้าหมักในหลุม การทำหญ้าหมักในถุงพลาสติก และการทำหญ้าแห้งอัดก้อน นอกจากนี้แล้ว ยังถ่ายทอดความรู้ในเรื่องราวการปลูกพืชอาหารสัตว์ชนิดต่างๆด้วย เช่น การปลูกกระถินเทพา การปลูกมันสำปะหลัง และการปลูกหญ้านาหญ้าชนิดต่างๆ

คุณพรพิมล ศรีหาพัฒน์ เจ้าหน้าที่สัตวบาลส่งเสริมการเกษตรฝ่ายปฏิบัติการ ประจำฐานเรียนรู้พืชอาหารสัตว์ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานี สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ
เทคนิคการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์ในถุงพลาสติก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก
1. มีดสำหรับสับหญ้า
2. ถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือเท่าที่มีตามท้องถิ่น เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก
3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล1.กก, เกลือ 500 กรัม เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก
4. กระสอบ, ยางรัดของ
วิธีการหมัก

1.หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม.

2.บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติก อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถุง ให้ใส่กากน้ำตาล เกลือ ลงไปด้วย โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

3.ใช้ยางรัดปิดปากถุง ที่บรรจุหญ้าให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้านำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ระวังอย่าให้ถุงมีรอยรั่วซึม เพราะจะทำให้เกิดรา และเน่าเสีย
4.หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

5.กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน
เทคนิคการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์ในถังพลาสติก
การทำหญ้าหมักด้วยถังพลาสติก หญ้าที่เหมาะสำหรับทำหญ้าหมัก หญ้าเนเปียร์ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้ารูซี่ ต้นข้าวโพด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

1. เครื่องตัดหญ้า หรือมีดสำหรับสับหญ้า
2. ถังพลาสติก 200 ลิตร หรือ ถังที่มีตามท้องถิ่น เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก
3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล,รำละเอียด, มันเส้น เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก
4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก
วิธีการหมัก

1.หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม.

2.บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก

3.ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถัง ละลายกากน้ำตาล รำละเอียด มันเส้น ลงไปด้วย โดยทำเป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

4.ปิดฝาถังบรรจุหญ้าให้สนิท แล้วปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้า

5.หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

6.กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน
ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก
1.การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
2.การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
3.เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
4.หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
5.ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

ข้อดีของหญ้าหมัก
1. สามารถทำได้ทุกฤดูกาล
2. สามารถใช้ทุกส่วนของต้นพืชให้เป็นประโยชน์
3. ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาน้อย
4. หญ้าหมักมีลักษณะอวบน้ำสัตว์ชอบกิน
5. ลดอันตรายจากอัคคีภัย
6. สามารถเก็บรักษาได้นาน

ข้อเสียของหญ้าหมัก
1. ต้องมีความรู้ความชำนานในการทำหญ้าหมัก
2. เปลืองแรงงานและลงทุนสูง
3. ขาดวิตามินดี
4. เป็นราเสียหายง่ายเมื่อเปิดถังใช้
5.หญ้าหมักมีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำลายภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะฉะนั้นต้องใช้ภาชนะที่เป็นพลาสติกเท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฐานเรียนรู้พืชอาหารสัตว์ คุณพรพิมล ศรีหาพัฒน์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-999-0667ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานีสาขาจังหวัดอำนาจเจริญ กิโลเมตร 9 ถนนชยางกูร ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณพรพิมล ศรีหาพัฒน์ อายุ : 38 ปี
ที่อยู่ : ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานี หมู่ที่สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อ - นามสกุล : คุณพรพิมล ศรีหาพัฒน์ อายุ : 38 ปี
ที่อยู่ : ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุบลราชธานี หมู่ที่สาขาจังหวัดอำนาจเจริญ ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น