เทคนิคการเลี้ยงปูนิ่มสร้างรายได้


เทคนิคการเลี้ยงปูนิ่มสร้างรายได้

เมื่่อได้พันธุ์ปูตามต้องการแล้ว นำปูไปแช่ในน้ำยาไอโอดีนเข้มข้นนานประมาณ 5-10 นาทีเ พื่อกำจัดพาราสิต แบคทีเรีย
หรือเชื้อโรคที่อาจจะติดตามเหงือกและรยางค์ต่างๆ ก่อนที่นำไปเลี้ยงควรให้ปูปรับตัวเข้ากับสภาพในบ่อที่จะเลี้ยงประมาณ 24 ชั่วโมง บ่อที่ใช้เลี้ยงอาจจะเป็นบ่อซีเมนต์หรือบ่อดินก็ได้ ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์จะเลี้ยงในน้ำทะเลสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ถ้าเป็นบ่อดินนิยมนำปูไปแยกเลี้ยงในตะกร้าๆ ละหนึ่งตัว ระยะเวลาที่ใช้เลี้ยงประมาณ 35-37 วัน ปูก็จะเริ่มทำการลอกคราบ โดยธรรมชาติปูจะลอกคราบในช่วงน้ำขึ้นลงเต็มที่ในช่วงระหว่างขึ้น 15 ค่ำและแรม 3 ค่ำ การปล่อยให้ปูลอกคราบตามธรรมชาตินั้นต้องใช้เวลาเลี้ยงปูแต่ละรุ่นนานถึง 1-2 เดือน ดังนั้นการพัฒนาเทคนิคที่ช่วยปูลอกคราบเร็วขึ้น จึงเป็นงานที่น่าสนใจและมีคุณค่าแก่การศึกษา
 วิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติและใช้ได้ผลดี ก็คือ วิธีกระตุ้นให้ปูลอกคราบเร็วขึ้นโดยโดยวิธีตัดรยางค์ของปูทิ้ง ที่ได้ผลดีและง่ายต่อการปฏิบัติก็คือ การตัดขาปูขาใดขาหนึ่งทิ้ง แต่ที่ฟาร์มปูนิ่มนิยมปฏิบัติกันส่วนใหญ่ก็คือ ตัดขาเดินทั้งสี่คู่ทิ้ง ให้เหลือแต่ขาว่ายน้ำคู่สุดท้ายคู่เดียว การตัดรยางค์ของปูนั้นต้องทำด้วยความประณีต มิฉะนั้นปูจะเสียเลือดและตายในที่สุด
 วิธีที่ดีที่สุดก็คือใช้คีม จับรยางค์ที่ต้องการตัดไว้เฉยๆ แล้วปล่อยให้ตัวปูเป็นอิสระ โดยสัญชาติญานเอาตัวรอด ปูจะปล่อยรยางค์ส่วนนั้นทิ้งเองโดยอัตโนมัติ การที่ปูสูญเสียรยางค์ส่วนใดส่วนหนึ่งในระยะก่อนลอกคราบ จะไปกระตุ้นกลไกการสร้างขาทดแทนทำงาน ถ้ารยางค์ที่สูญเสียไปพร้อมกันสามคู่หรือมากกว่านั้น กลไกในการสร้างขาทดแทน จะไปช่วยเร่งให้ปูลอกคราบเร็วขึ้น แม้สิ่งแวดล้อมภายนอกจะไม่อำนวยก็ตาม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลอกคราบของปูที่เลี้ยงในบ่อได้แก่ ระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบและฮอร์โมนที่เร่งในการลอกคราบ เกษตรกรจะกระตุ้นให้ต่อมที่ผลิตโฮโมนส์ดังกล่าว ทำงานด้วยวิธีตัดก้ามและขา ว่ายน้ำ การเปลี่ยนแปลงความเค็ม และอุณหภูมิของน้ำในบ่อที่มีอิทธิพลต่อการลอกคราบ เกษตรกรจะควบคุมให้คงที่โดยสร้างโรงเรือนคลุมบ่อที่เลี้ยง โดยมีผ้าใบหรือข่ายไนลอนช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
 อาหารที่ใช้เลี้ยงปูควรเป็นอาหารมีคุณค่าทางอาหารสูง และให้ในปริมาณที่เพียงพอ ที่นิยมใช้เลี้ยงปูนิ่มได้แก่เนื้อปลาสด ถ้าเป็นปลาที่มีขนาดโตหน่อย เช่นปลาข้างเหลือง ก็ควรแล่เอาแต่เนื้อ หั้นเป็นชิ้นเล็กๆ ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากระตัก (ปลาจิงชัง) ก็ให้ทั้งตัวได้ ถ้าเป็นหอยกะพงหรือหอยแมลงภู่ก็ให้ทั้งเปลือก ในระยะ 10 วันแรก จะให้อาหารวันละครั้ง ระหว่างเวลา 17.00-18.00 นาฬิกา ในอัตราร้อยละ 8-10 ของน้ำหนักปูที่เลี้ยง หลังจากวันที่ 10 ลดปริมาณอาหารที่เหลือประมาณร้อยละ 5 โดยให้วันเว้นวัน ปริมาณอาหารที่ให้และความถี่ในการให้อาหารนั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของผู้เลี้ยง เมื่อใกล้ลอกคราบปูจะกินอาหารน้อยลง และจะหยุดกินก่อนลอกคราบ การให้อาหารมีหลักอยู่ว่าต้องให้อาหารเพียงพอ ถ้าให้ปริมาณมากน้ำจะเสีย ระหว่างเลี้ยงต้องทำความสะอาดบ่อ หรือตะกร้าทุกๆ 15 วัน ถ้าเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำวันละครั้ง

เมื่อปูใกล้ลอกคราบต้องทำการตรวจให้บ่อยขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควร ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ถ้าสังเกตว่าปูเริ่มหยุดกินอาหารแสดงว่าปูจวนจะลอกคราบ หลังจากปูลอกคราบแล้ว 6 ชั่วโมง กระดองปูจะเริ่มแข็งไม่สามารถนำไปทำปูนิ่มได้ ปูส่วนใหญ่จะลอกคราบในเวลากลางคืน ระยะเวลาที่ปูทะเลลอกคราบ ตั้งแต่ปูกระดองเก่าเริ่มล่อนจากเยื่อหุ้มตัว จนกระทั่งปูดีดตัวเองออกจากคราบเก่าจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เมื่อพบว่าปูได้ลอกคราบแล้ว ควรเริ่มทยอยเก็บปูที่ลอกคราบ แล้วนำไปล้างและแช่น้ำจืดประมาณ 30 นาที เพื่อล้างเมือกและความเค็มตามตัวปูก่อนที่จะนำไปบรรจุในกล่องพลาสติกที่ เตรียมไว้ กล่องหนึ่งจะบรรจุปูประมาณ 1-2 ตัว แล้วแต่ขนาด จากนั้นนำไปแช่แข็งในตู้แช่ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอลูกค้าไปรับหรือนำไปส่งลูกค้าขาประจำ

ตลาดปูนิ่ม ในปี 2538 ปูนิ่มที่ขายกันตามร้านอาหารและภัตตราคารมีชื่อในเมืองใหญ่ๆ ประมาณกิโลกรัมละ 250-300 บาท ส่วนราคาหน้าฟาร์มอยู่ระหว่าง กิโลกรัมละ 170-200 บาท ตลาดต่างประเทศนั้นยังไม่มีการสำรวจและเปิดตลาดเท่าที่ควร ประเทศที่มีศักยภาพสูงสำหรับปูนิ่มของไทยได้แก่ญี่ปุ่น สหรัฐเมริกา ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และจีน

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงปูนิ่ม 
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปูนิ่ม ได้แก่ พันธุ์ปูที่นำมาใช้เลี้ยง ปัจจุบันใช้ปูขนาดเล็กที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีจำนวนลดน้อยลงทุกปี ปัญหาตลาดยังไม่มีปัญหาในปัจจุบัน เพราะการผลิตปูนิ่มยังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ปริมาณปูที่ผลิตได้ยังมีไม่มากจนเกินความต้องการภายในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศก็มี ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่ฟาร์มปูนิ่มใหญ่ๆ สามารถจัดส่งให้ได้ตามที่สั่ง ปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมคุณภาพของปูนิ่มที่ฟาร์มต่างๆ ผลิตโดยเฉพาะในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากฟาร์มปูนิ่มรายใหญ่ๆ เท่านั้นที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถควบคุมผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศที่สั่งปูกำหนดไว้

ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการเลี้ยงปูนิ่ม
  

กระดองปูทะเลประกอบด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ที่เรียกว่าไคติน (chitin) เมื่อดึงเอาอะเซทธิลกรุ๊ปของไคตินออก จะได้สารไคโตซาน (chitosan) เป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 ไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ที่สามารถรับประจุบนหมู่อะมิโนอิสสระ ไคโตซานจึงสามารถสลายในตัวทำลายที่มี pH < 5.5 เช่นสารละลายอินทรีย์เจือจาง กรดฟอร์มิก (formic acid)กรดไพรูวิก (pyruvic acid) กรดมาลิก (malic acid) กรดทาร์ทาริก (tartaric acid) และ(citric acid)กรดซิตริก นอกจากนี้ยังสามารถละลายได้ในกรดไนตริก (nitric acid) กรดไฮโดรลิกเจือจางและกรดเปอร์คลอริก ละลายได้เล็กน้อยในกรดฟอสฟอริก แต่ไม่ละลายในกรดซัลฟูริก (sulfuric acid) และน้ำ ดังนั้น ไคโตซานจึงมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น มีประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตภัณฑ์นม และโรงงานผลิตเครื่องสำอางค์ ที่มีปริมาณอินทรีย์สารและโลหะหนัก พวก ทองแดง นิคเกิล สังกะสี โครเมียม และเหล็ก ในน้ำทิ้งมาก โปรตีนที่ตกตะกอนสามารถนำกลับมาใช้เป็นวัสดุ (substrate) ให้จุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือในบ่อกุ้งเกาะ เพื่อให้จุลินทรีย์ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีประสิทธิ์ในการทำงานมากขึ้น

ตาราง ปริมาณของไคตินและไคโตซานจากเปลือกส่วนต่างๆ ของปูทะเล
ส่วนต่างๆ ของปูทะเลไคตินไตโตซาน
กระดอง12.22+5.4610.38+4.35
ท้อง16.04+5.5713.31+2.78
ก้าม9.59+3.627.11+3.09
ขาว่ายน้ำ18.70+1.6414.66+1.22
เฉลี่ย14.1411.37

 ด้านการเกษตร ไคโตซานและไคตินคอมแพล็กซ์สามารถนำไปใช้กำจัดเชื้อรา Sclerotium rolfsii ที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชตะกูลถั่วหลายชนิด โดยเป็นตัวชักนำยีนให้มีความสามารถความต้านทานต่อเชื้อโรคได้สูงขึ้น นอกจากนี้ไคโตซานยังมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพดินทางด้านอินทรีย์วัตถุ และนำไปผสมอาหารหรับสัตว์ปีก หรืออาหารกุ้ง ด้านการแพทย์และเภสัชกรรมไคโตซานสามารถนำมาทำเป็นเยื่อไคโตซานสำหรับใช้เป็นผ้าพันแผล ช่วยในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ สามารถนำมาแปรรูปเป็นไคโตซานอะซิเตทสำหรับเป็นยาสามานแผล ช่วยลดการปวดและลดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการรักษากระดูกและฟัน การรักษาโรคตา และเหงือกอีกด้วย อนุพันธ์ไคตินสามารถใช้เป็นตัวนำส่งตัวยาเข้าร่างกายอย่างมีระบบหรือเฉพาะที่ได้ สามารถใช้ในรูปประวิงเวลาเพื่อปล่อยตัวยาอย่างช้าๆ ตามเวลาที่กำหนด ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์เช่น ครีมและโลชั่นให้ความชุ่มชื้น และใช้ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาผม
 ด้านโภชนาการ ไคโตซานสามารถนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารบำรุงสุขภาพเพื่อช่วยลดโคเล สเตอร์รอล นำมาใช้ในการตกตะกอนไวน์ขาวและไวน์แดง ทำเป็นฟิลม์สำหรับเคลือบอาหารช่วยในการลดจำนวนแบคทีเรียและยืดอายุในการเก็บ ให้ยาวขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปแปรรูปให้อยู่ในรูปเอนคาร์บอกซีเมทธิลไคโตซาน (N-carboxymethyl chitosan) ใช้เป็นสารปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต่างๆ ให้มีกลิ่นกุ้ง เช่นผลิตภัณฑ์ซอสรสกุ้ง
 ด้านผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งทอ สำมารถนำไปใช้ผลิตไส้กรอง สำหรับกรองน้ำและกรองอากาศ หรือใช้ทำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังสามารถนำไคโตซานกับใยโพลีโซนิค (polysonic) มาทอกับใยฝ้ายเพื่อทำชุดชั้นใน ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกลิ่นและเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน เป็นต้น
 กระดองปูทะเลที่ลอกคราบแล้ว ไม่ควรทิ้งควรรวบรวมไปขายให้แก่โรงงานเพื่อนำไปสกัดไคตินและคีโตซาน ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่รับซื้อกระดองปูหรือเปลือกปูเพื่อนำไปสกัดสารไคติ นและไคโตซานนับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้เลี้ยงปูนิ่มน่าจะหาทางใช้ประโยชน์ จากกระดองปู แทนที่จะทิ้งให้สูญเปล่า ปัจจุบันไคโตซานซื้อขายกันในราคาประมาณกิโลกรัมละ 400-500 บาท ขึ้นอยู่กับวิธีการบรรจุและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฟาร์มปูนิ่มขนาด 3 ไร่ ต้องใช้เงินทุนขั้นแรก 188,300 บาท รุ่นหนึ่งใช้เวลาประมาณ 30 วัน ต้นทุนการผลิตแต่ละรุ่นประมาณ 40,280 บาท รุ่นหนึ่งผลิตปูนิ่มได้ 515 กิโลกรัม ราคาปูนิ่มที่ขายหน้าฟาร์มเฉลี่ย 240 บาทต่อกิโลกรัม รายได้จากปูนิ่มประมาณ 123,600 บาทต่อรุ่น จะสามารถคืนทุนภายใน 5 เดือน อัตราผลการตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตร้อยละ 40 อัตราผลการตอบแทนการลงทุนร้อยละ 19.30

การเลี้ยงปูทะเลร่วมกับสัตว์น้ำอื่นๆ ปู ทะเลสามารถเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำอื่นๆ เช่น ปลา หอยนางรม และสาหร่ายต่างๆ ได้ ปัจจุบันมีเลี้ยงในจังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชุมพร ระนอง นอกจากเลี้ยงร่วมกับกุ้งแล้วปูทะเลยังสามารถเลี้ยงร่วมกับปลา หอยนางรม และสาหร่ายวุ้นได้

การเลี้ยงปูทะเลในบ่อกุ้งร้าง ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบ่อกุ้งร้างไม่ต่ำกว่า 2,5000 ไร่ การนำบ่อกุ้งร้างมาใช้เลี้ยงปูทะเล นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้บ่อกุ้งร้างที่มีอยู่และไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้มีการผลิตอีกครั้งหนึ่ง บ่อกุ้งร้างเหมาะสำหรับนำมาใช้เลี้ยงปูทะเลเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ขุดบ่อ อุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งที่มีอยู่เดิม เช่น เครื่องตีน้ำ หรือเครื่องยนต์ต่าง ก็สามารถนำมาใช้เลี้ยงปูได้ จังหวัดที่มีการเลี้ยงปูทะเลในบ่อกุ้งร้างได้แก่ ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชุมพร ระนอง และกระบี่ บ่อกุ้งร้างสามารถใช้เลี้ยงปูได้ทุกระบบ นับตั้งแต่การเลี้ยงปูเล็กให้เป็นปูใหญ่ การเลี้ยงปูเนื้อ ปูไข่ ปูนิ่ม ตลอดจนการเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำอื่นๆ และสาหร่ายทะเล<



ที่มา http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539367367